งานประเพณี “แซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ” ประจำปี 2566 เป็นประเพณีความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของลูกหลานชาวไทยเชื้อสายเขมร มีการสาธิตห่อข้าวต้มมัด 6 ประเภท เช่น ข้างต้มมัดไส้กล้วย, ข้าวต้มมัดไส้หมู, ข้าวต้มมัดไส้ถัวเหลือง หรือไส้เผือก. ข้าวต้มมัดใบมะพร้าวใส่กล้วย, ข้าวต้มมัดใบมะพร้าวไส้หมู่ แล้วข้าวต้มต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประชาชน และชาวชุมชน 33 ชุมชนร่วมงาน















วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่บริเวณศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้จัดพิธีวัน “แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ภายในงานได้มีการสาธิตการทำขนมกล้วยจากนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา” นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 มาทำการสาธิตการทำขนมข้าวต้มมัด และยังมีชาวชุมชนมาร่วมด้วย พร้อมกับวงดนตรีมาแสดงในงานนี้ด้วย
หลังจากนั้น นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ นายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ พร้อมด้วยสมาชิกเทศบาลและข้าราชการเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้เดินชมการสาธิตข้าวต้มมัดที่มาวางโชว์ไว้ตามบูธต่างๆ
จากนั้น นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ พร้อมสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสุรินทร์ ข้าราชการ และลูกจ้างของเทศบาลฯ และประชาชน พร้อมชาวชุมชน 33 ชุมชนได้ร่วมกัน “แซนโฎนตา”เ ซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว
สำหรับ วันแซนโฎนตา หรือ ไงแซนโฎนตา ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ประเพณีวันสารทของคนเชื้อสายวัฒนธรรมเขมร ครอบครัวและเครือญาติได้กลับมาพบหน้ากัน เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับเช่นเดียวกับ “วันสารทไทย”, “วันสารทจีน” และในวัฒนธรรมของชาวเขมรก็มีประเพณี “วันสารทเขมร” หรือที่เรียกกันว่า “ประเพณีแซนโฎนตา” ซึ่งชาวเขมร รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ ชาวบ้านที่มีเชื้อสายเขมรมีความเชื่อว่า เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด เพื่อให้ผู้รับกรรมที่อยู่ในนรกได้เดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัดในหมู่บ้าน






















