
จากเหตุการณ์อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ จตุจักร กทม.ถล่มลงมา จากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ต่อมาเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้พบร่างของนายบุญรอด โอทาตะวงค์ หรือ หลอด อายุ 33 ปี แรงงานหนุ่มชาวนครพนมที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อเวลา 14.15 น. วันที่ 30 มี.ค.2568 ที่ผ่านมา ท่ามกลางซากปรักหักพังของอาคาร ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ส่งร่างตรวจพิสูจน์ยืนยันดีเอ็นเอเรียบร้อยแล้ว จึงนำร่างนายหลอด เดินทางมาถึงบ้านในเวลา 02.20น. ของวันที่ 1 เมษายน 2568 ญาตินำร่างนายบุญรอด ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้านและมีพิธีทางศาสนา 2 คืน


ล่าสุด วันที่ 3 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ บ้านเลขที่ 221 หมู่ 6 บ.คำสว่าง ต.วังตามัว อ.เมือง นายอุไร โอทาตะวงค์ วัย 62 ปี และนางสุดา โอทาตะวงค์ พ่อและแม่นายบุญรอด พร้อมญาติพี่น้องและชาวบ้าน รวมทั้งผู้นำชุมชน ได้นำศพนายบุญรอด ไปประกอบพิธีฌาปนกิจ ที่ วัดบ้านคำสว่างสามัคคีธรรม ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครับพร้อมญาติพี่น้อง โดยนายสมศักดิ์ บุญจันทร์ นายอำเภอเมืองนครพนม เป็นประธานในพิธีฯ มีตัวแทนจาก มทบ.210 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จ. นครพนม ยังมีแรงงานที่ยังสูญหาย ยังพบตัว คือนายจักรกฤษณ์ ศิลารัก หรือ จักร อายุ 17 ปี บ้านคำสว่างแรงงานชาวบ้านเดียวกันกับนายบุญรอด หรือ หลอด และนายเอกชัย อินทรักษ์ หรือ จุ๊ ชาว บ.ดงน้อย อ.ศรีสงคราม ที่ยังสูญหายไม่พบร่างหลังเหตุการณ์ผ่านมาแล้วหลายวัน
ด้านนางแต๋ว ยืนนาน อายุ 54 ปี แม่ของนายจักรกฤษณ์ ศิลารัก หรือ จักร อายุ 17 ปี บ้านคำสว่างแรงงานชาวบ้านเดียวกันกับนายหลอด ยังอยู่ในอาการโศกเศร้า รอวันลูกชายกับมา ถึงแม้จะได้ข่าวว่าพบสัญญาณชีพ ของแรงงานที่อยู่ใต้ซากตึกกว่า 70 ภาวนาให้ลูกชายและแรงงานทุกคนปลอดภัย
นายภานุวัฒน์ ศรีอ่างอายุ 28 ปี หัวหน้าชุดคนงานติดตั้งระบบสปริงเกอร์ของอาคารสตง.ที่ถล่มเล่าให้ฟังว่า ในวันที่เกิดเหตุปกติ ทีมเข้างานในช่วงเช้านั้น เราจะขึ้นไปทำงานงติดตั้งวางระบบท่อกันที่บริเวณชั้นที่ 18 ถึง 22 จากนั้นในช่วงบ่ายทุกคนก็จะลงมาช่วยกันทำงานรวมกันที่ชั้น 5
สำหรับนายจักรกฤษณ์ ผู้สูญหาย ก่อนเกิดเหตุได้ขอแยกตัวขอไปเข้าห้องน้ำซึ่งยังชั้นที่ 10 ขณะที่เกิดเหตุตนรวมทั้งทีมงานจาก 16 คนเหลือ 15 (ไม่รวมนายจักรกฤษณ์) คนต่างรีบทยอยหนีลงมาจากอาคารโดยทันที หลังจากที่มีเสียงดังผิดปกติและเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นตามมาในเวลาต่อมา แต่ในขณะที่หลบหนีออกมามีนายบุญรอด โคทาตะวงศ์ ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตพร้อมด้วยนายกิตติพร หลบหนีตามหลังออกมาไม่ทันจึงได้เสียชีวิตดังกล่าว ส่วนนายจักรกฤษณ์ ผู้สูญหาย เชื่อว่าหลังเกิดเหตุเชื่อว่าคงพยายามหลบหนีด้วยเช่นกันและมั่นใจว่าจะใช้เส้นทางของทางหนีไฟซึ่งอยู่ใกล้กับบันไดเป็นเส้นทางหลบหนี เพราะเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของอาคาร