ทีมศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ม.ธรรมศาสตร์ ร่วมกันสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็กพิการทางการเห็น โครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” และคณะ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการแสดงละครเวทีสำหรับเด็กพิการทางการเห็น ในการใช้รูปแบบละครเวทีในการเพิ่มศักยภาพการเคลื่อนไหว และกระตุ้นประสาทสัมผัส ของเด็กพิการทางการเห็นผ่านการมีส่วนร่วมในการแสดงและมีเป้าประสงค์สำคัญในการผลิตสื่อ เพื่อเป็นสื่อต้นแบบของละครสำหรับคนพิการทางการเห็น อันจะเป็นประโยชน์




เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ หอประชุม โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นางสาวชลลดา ชนะศรีรัตนกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดกิจกรรม “ละครเวทีเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กพิการทางการเห็น”ภายใต้โครงการ “จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น”โดยมีนางมาลิณี วรปรีชาชนม์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ กล่าวต้อนรับประธานในพิธี คณะกรรมการกองทุนสื่อ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการนี้มีนางสาวเพชรรัตน์ มณีนุษย์ หัวหน้าโครงการจินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ พร้อมด้วย นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล คณะทำงานติดตาม และประเมินผลโครงการฯ ประจำปี 2566 คณะที่ 3 กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงภาพรวมและผลการติดตามโครงการจินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น
โครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” และคณะ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการแสดงละครเวทีสำหรับเด็กพิการทางการเห็น ในการใช้รูปแบบละครเวทีในการเพิ่มศักยภาพการเคลื่อนไหว และกระตุ้นประสาทสัมผัส ของเด็กพิการทางการเห็นผ่านการมีส่วนร่วมในการแสดงและมีเป้าประสงค์สำคัญในการผลิตสื่อ เพื่อเป็นสื่อต้นแบบของละครสำหรับคนพิการทางการเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่ครูและ ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจในการพัฒนาวงการการศึกษาเด็กพิเศษ
น.ส.เพชรรัตน์ มณีนุษย์ หัวหน้าโครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” และคณะ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมละครเวทีเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กพิการทางการเห็น ณ หอประชุมโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รับการต้อนรับจากนางมาลิณี วรปรีชาชนม์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจน คณะครู บุคลากร และนักเรียน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนางสาวชลลดา ชนะศรีรัตนกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด
เด็กพิการทางสายตาคือกลุ่มเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ สมควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม จากยอดสำรวจจำนวนประชากรพิการที่มีลักษณะความบกพร่องของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำปี 2565 พบว่าในประเทศไทย มีเด็กพิการทางสายตาในช่วงอายุ 6-12 ปี จำนวน 6,314 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2565: ออนไลน์) จากการศึกษาพบว่า เด็กพิการทางสายตาช่วงชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีปัญหาด้านกล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีผลการประเมินด้านการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่กำหนด
เนื่องจากเด็กพิการทางสายตาส่วนใหญ่ ขาดแคลนกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ส่งผลให้เด็กพิการทางสายตาขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและบุคลิกภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ผู้จัดทำโครงการจึงได้ออกแบบสื่อสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. สื่อการแสดงสดในรูปแบบละครเวทีที่เน้นการมีประสบการณ์ร่วม (Immersive Theatre) ซึ่งมีกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวประกอบท่าทางต่างๆ ในการแสดง โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเด็กพิการทางสายตา 2. สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวิดีโอที่เน้นการนำเสนอเป็นละครเสียงหรือละครวิทยุ เพื่อใช้เป้นเครื่องมือที่ช่วยให้ครู ผู้ดูแลและผู้ปกครองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการและทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางสายตาที่บ้านหรือที่โรงเรียนได้เอง ซึ่งสื่อสร้างสรรค์ดังกล่าว เหมาะสำหรับครูสอนวิชาพละศึกษาและนักพัฒนาการเคลื่อนไหวที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนสอนเด็กพิการทางสายตาและโรงเรียนสำหรับเด็กผู้มีความต้องการพิเศษอื่นๆ รวมทั้งนักกายภาพบำบัดเด็กพิเศษ ศึกษานิเทศก์เด็กพิเศษ หน่วยงานกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม) และกระทรวงศึกษาธิการ ที่สามารถใช้สื่อเหล่านี้ให้เปรียบเสมือนคู่มือในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางสายตาให้เท่าเทียมกับเด็กสายตาปกติ ตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง การสร้างหลักประกันว่าทุกคนควรมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม รวมทั้งการสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education)
จากการศึกษาพบว่ามีผู้สร้างสรรค์ละครเวทีเพื่อเด็กพิการทางสายตาในประเทศไทยมีเพียง 2 โครงการเท่านั้นได้แก่ ผลงานสารนิพนธ์ละครเพื่อการศึกษาเรื่องแมงมุมเพื่อนรักสำหรับเด็กพิการทางสายตา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2553 (เพชรรัตน์ มณีนุษย์, 2556) และในประเด็นเดียวกันนี้ มีผู้วิจัยสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ของ ธีรเนตร (2557) เรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวที 6 มิติ สำหรับเด็กพิการทางสายตา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 เนื่องจากทั้ง 2 การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการแสดงที่ให้เด็กพิการทางสายตานั่งรับชมเพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆที่หลากหลาย จึงเป็นที่มาให้เกิดโครงการในครั้งนี้ว่าด้วยเรื่อง การสร้างสรรค์ละครเวทีที่สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางสายตาได้ในด้านวิธีการและเครื่องมือสำหรับพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กพิการทางสายตามีจำนวนมากมายเช่น Maristella Borges Silva ได้ประดิษฐ์แบบจำลองประกอบเสียงเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายและการกายภาพบำบัดผ่านทางเสียงบรรยายเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวผู้พิการทางสายตา ของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางสายตา แต่เนื่องจากวิธีการฝึกโยคะ ต้องใช้การยืดกล้ามเนื้อหลายส่วนประกอบกัน ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนเป็นไปได้ยาก
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบกิจกรรมที่เด็กพิการทางสายตาสามารถฝึกฝนการเคลื่อนไหวได้ง่ายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน นั้นก็คือการสวมบทบาทเป็นตัวละครที่เปิดโอกาสให้เด็กพิการทางสายตาได้เคลื่อนไหวผ่านการเล่นบทบาทสมมุติเป็นสิ่งต่างๆ อีกทั้งยังต้องใช้ท่าทางในการเดินทางและการผจญภัยไปในการแสดง