เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 8 เมษายน 2566 ที่ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น” ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่น สำหรับเยาวชนซึ่งเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) จากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค โดยให้นักเรียนเล่าเรื่องด้วยภาษาถิ่นที่แสดงถึงความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อความสำคัญ จุดเด่น หรือการอนุรักษ์ เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว หรือประเพณีวัฒนธรรม หรือเทศกาลสำคัญประจำปี เพื่อเชิญชวนให้มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในท้องถิ่นของตน โดยมีนายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการและรักษาการเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา และคณะกรรมการ แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรม

นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการและรักษาการเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า การจัดการประกวด เล่าเรื่องหัวข้อ “ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น” ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่น สำหรับเยาวชนซึ่งเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) จากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค โดยให้นักเรียนเล่าเรื่องด้วยภาษาถิ่นที่แสดงถึงความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อความสำคัญ จุดเด่น หรือการอนุรักษ์ เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว หรือประเพณีวัฒนธรรม หรือเทศกาลสำคัญประจำปี เพื่อเชิญชวนให้มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในท้องถิ่นของตน
“การประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น” แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยโรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน, โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ, โรงเรียนที่อยู่ในภาคใต้เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคใต้, และโรงเรียนที่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก เล่าเรื่อง ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน) คณะกรรมการจะพิจารณาจากความสามารถในการใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติ สมวัย การประกวดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะเข้ารับรางวัลในงานวันภาษาไทยแห่งชาติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา”

นายศานติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประกวดแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบคัดเลือก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จะคัดเลือกผู้ผ่านรอบแรกจากวีดิทัศน์ของแต่ละภาคให้เหลือภาคละ 10 คน ผู้ผ่านรอบแรกพร้อมโรงเรียน จะได้รับเกียรติบัตร จากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และรอบชิงชนะเลิศ ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละภาคต้องเล่าเรื่อง ตามประเด็นเดิมในรอบแรก ต่อหน้าคณะกรรมการคัดเลือกของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
“ทั้งนี้ การประกวดฯ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยเริ่มจาก ภาคอีสาน มีนักเรียนที่ผ่านการเข้ารอบ 10 โรงเรียน จาก 50 โรงเรียนที่ส่งเข้าประกวด ได้แก่ 1.เด็กหญิงกนกอร เกษอินทร์ จากโรงเรียนบ้านม่วง จ.หนองคาย,2.เด็กชายกิตติคุณ ภาวจันทึก จากโรงเรียนบ้านลอมคอม จ.ขอนแก่น,3.เด็กชายเกียรติภูมิ ถ่วงกลาง จากโรงเรียนรุจีจินตกานนท์ จ.หนองคาย,4.เด็กหญิงธัญญรัตน์ สุขโนนจารย์ จากโรงเรียนอนุบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์,5.เด็กหญิงปริญญ์ สมบัติวิทยกิจ จากโรงเรียนอมตวิทยา จ.ขอนแก่น ,6.เด็กหญิงปลายฟ้า โพธิ์สว่าง จากโรงเรียนอนุบาลนิคมแปงจาน จ.หนองคาย,7.เด็กชายปองคุณ โพธิ์ทิพย์วงษ์ จากโรงเรียนบ้านพัฒนาสามัคคี จ.ชัยภูมิ,8.เด็กหญิงรุจีรัตน์ กฎขันตี จากโรงเรียนภูเวียงวิทยายน จ.ขอนแก่น ,9.เด็กหญิงสุดารัตน์ อยู่ยัง จากโรงเรียนบ้านโนนพุทรา จ.นครราชสีมา,10.เด็กหญิงอลิสา สุธงษา จากโรงเรียนห้วยบ่ซืน จ.เลย”

“สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เด็กหญิงปริญญ์ สมบัติวิทยกิจ จากโรงเรียนอมตวิทยา จ.ขอนแก่น, รองชนะเลิศ ลำดับที่ 1 เด็กชายกิตติคุณ ภาวจันทึก จากโรงเรียนบ้านลอมคอม จ.ขอนแก่น และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 เด็กชายปองคุณ โพธิ์ทิพย์วงษ์ จากโรงเรียนบ้านพัฒนาสามัคคี จ.ชัยภูมิ นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะเข้ารับรางวัลในงานวันภาษาไทยแห่งชาติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภ และการจัดการประกวดครั้งต่อไปจะไปที่ภาคเหนือ ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซต์ เชียงใหม่ จากนั้นไปจัดการประกวดของ ภาคใต้ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรม ต้นอ้อย แกรนด์จังหวัดสงขลา, และการประกวดของ ภาคกลางภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ศรีราชา แหลมฉบัง ต่อไป