เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 15 มิ.ย. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ห้อง ประชุมวังเลิศ ชั้น 1 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือก่อตั้ง“เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในประเทศไทย ในรูปแบบองค์กรจัดการจุดหมายปลายทาง โดยได้รับการสนับสนุนจาก บพข. (กองทุน ววน.) และ อบก. ให้ 32 องค์กรสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม จากหลาย สถาบัน รวมทั้งสื่อมวลชนด้านการท่องเที่ยว ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างบุคคลากรภาคการท่องเที่ยวและเสนอขายรายการนําเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ก่อนมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และส่งเสริมให้สร้างรายการนําเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยทําให้บุคคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสามารถเพิ่มยอดขายจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแนวใหม่ไปพร้อมกับการช่วยบรรเทาภาวะโลกรวน สร้างความตระหนักให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ นักศึกษาและชุมชน ให้มีส่วนร่วม ในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการท่องเที่ยว และพัฒนาศักยภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม





ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว.และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. กล่าวว่า ในบทบาทของภาครัฐบพข.และ สกสว. มุ่งให้การสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย ให้สามารถพลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ ด้วยงานวิจัยท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวมถึงส่งเสริมให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เน้นให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายขยายผลให้เกิดความร่วมมือด้วยฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเครือข่ายมากกว่า 60 เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ที่จะช่วยผนึกกำลังสร้างสรรค์การท่องเที่ยวไทยให้ไร้คาร์บอน
นางสาวภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อํานวยการ สํานักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กล่าวถึง บทบาทของ อบก. ที่ให้บริการ ดูแลและกําหนดมาตรฐานการวัด การรายงาน และการทวนสอบ รวมทั้งให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด และการชดเชยก๊าซเรือน กระจก ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันยังถือเป็นเรื่องใหม่สําหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว อบก. จึงมุ่งเน้นให้ความร่วมมือในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างเต็มที่ และร่วม พัฒนาให้กระบวนการต่างๆให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง




นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สอทอ.) กล่าว ว่า ภายใต้ความร่วมมือนี้มีองค์กรเครือข่ายจํานวน 32 องค์กร มีสมาชิกในองค์กรรวมกันกว่า 7,300 ราย จะมีการสร้างพี่เลี้ยงของแต่ละองค์กรเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกของตนเองมีองค์ความรู้ “ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก” ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนา ส่งเสริมให้นํา เครื่องมือการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ แนวปฏิบัติตามโครงการ LESS การชดเชยก๊าซเรือนกระจกด้วย คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และมีการ แนะนําให้นําเครื่องมือการจัดการก๊าซเรือนกระจกอื่นๆของประเทศไทยไปใช้ประโยชน์ เพื่อผลิตรายการนําเที่ยว ที่น่าสนใจและเสมือนไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ตลาดในประเทศและตลาดยุโรป