วันที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่ ศูนย์สารสนเทศยางพารานครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) ปี 2566 กิจกรรม พัฒนาความรู้และพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเกษตรและโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน มุ่งสร้างความรู้และความเข้าใจ ในการจัดการธุรกิจเกษตร เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร พัฒนาตนเองสู่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรในพื้นที่





นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในปี 2566 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมมุ่งมั่นในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักตลาดนำการผลิต และนำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาปฏิรูปภาคการเกษตรสู่ยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0” ที่เป็นการพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าด้านการเกษตรล้นตลาด ราคาตกต่ำ ขาดการเชื่อมโยงกับตลาดภายในประเทศที่เป็นแหล่งข้อมูลความต้องการสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิตสูง โดยวางแผนการจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายของการสัมมนาครั้งนี้ คือ กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบการตลาดเกษตรกร โดยกำหนดให้มีทั้งการบรรยายและฝึกปฏิบัติ ในวิชากลยุทธ์การตลาดและการคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ การจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรเพื่อลดการสูญเสีย (การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร) การยกระดับตลาดสินค้าเกษตรสู่ตลาด e – Commerce การฝึกปฏิบัติติตัดแต่งผลผลิตและบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์สินค้าและการเขียน story สินค้าการเกษตร การพัฒนาเว็บไซต์ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com การใช้แอปพลิเคชันยุคใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย และการใช้สื่อ social เพื่อสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ และ BCG Economy Model เพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์สินค้าเกษตรให้มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญในด้านต่างๆ จากกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด มาร่วมให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีการนำเกษตรกรไปศึกษาดูงานด้านการตลาดของเกษตรกร ณ ศพก.สวนลุงเสริม ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ในเรื่องของการบริหารจัดการตลาด การจัดการธุรกิจเกษตรและโลจิสติกส์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้เรียนรู้ในพื้นที่จริง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับการขับเคลื่อนด้านการตลาดในพื้นที่ของตนเองได้อย่าง